วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage)
 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึก
ซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile)
       โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน
เฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น

 
2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)
                เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียว
                ข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น

 
internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)
เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม

กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)
เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)

อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

 จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) 


จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ( hard disk )

 ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks) 
floppy disk
ฟลอปปี้ดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม

ความสามารถของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการดังนี้
1.      การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine)
          การจัดเก็บข้อมูลที่บันทึกผ่านทางแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถประมวลผลได้ และเมื่อคอมพิวเตอร์ประมวลผลเรียบร้อยแล้วข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกแปลงกลับให้เป็นรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
2.      การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed)
          เนื่องจากการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นการดำเนินงานต่าง ๆ จึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว (มากกว่าพันล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที)
          3.   ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability)
           คอมพิวเตอร์จะทำงานตามที่คำสั่งที่มนุษย์เขียนโปรแกรมหรือคำสั่งไว้  ถ้าผู้ใช้ป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก็จะมีความถูกต้องเชื่อถือได้
4.   การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage)
          คอมพิวเตอร์ทีหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่บันทึกไป ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหมื่นล้านตัวอักษร
5.        การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication)
           คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และสามารถทำงานที่หลากหลายมากขึ้นกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เช่น การนำคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
ในที่ทำงาน มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเก็บบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล ทำงานวิจัย และจัดการโครงการต่างๆ ที่บ้าน คุณสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูล เก็บรูปภาพและเพลง ติดตามข้อมูลทางบัญชี เล่นเกม และสื่อสารกับผู้อื่น—เหล่านี้เป็นเพียงความสามารถเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น
นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ซึ่งคือเครือข่ายที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์รอบโลกเข้าด้วยกัน การใช้อินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยเสียค่าใช้บริการรายเดือนในเขตเมืองส่วนใหญ่ และในพื้นที่ที่มีประชากรน้อยลงมา ก็มีบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอินเทอร์เน็ต คุณสามารถสื่อสารกับผู้คนรอบโลกและค้นหาข้อมูลได้มากมาย
การใช้คอมพิวเตอร์แบบที่นิยมกันมากที่สุด ได้แก่

เว็บ

เวิลด์ไวด์เว็บ (โดยทั่วไปจะเรียกว่า Web หรือ เว็บ) คือคลังข้อมูลขนาดมหึมา เว็บคืออินเทอร์เน็ตส่วนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากว่าแสดงข้อมูลส่วนใหญ่ในรูปแบบที่ดึงดูดสายตา หัวข้อข่าว ข้อความ และรูปภาพสามารถรวมเข้าด้วยกันอยู่ใน เว็บเพจ เดียว—ซึ่งเหมือนกับหน้าในนิตยสาร—ที่มีเสียงและภาพเคลื่อนไหว เว็บไซต์ คือชุดของเว็บเพจที่เชื่อมต่อถึงกัน เว็บประกอบด้วยเว็บไซต์นับล้านไซต์และเว็บเพจเป็นพันล้านเพจ

ตัวอย่างการท่องเว็บ (mahinclub.com)
ตัวอย่างของเว็บเพจ (Microsoft Game Studios)
การท่อง เว็บหมายถึงการสำรวจเว็บ คุณสามารถหาข้อมูลในเว็บในทุกเรื่องที่สามารถจินตนาการได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถอ่านข่าวและบทวิจารณ์ภาพยนตร์ ตรวจสอบตารางการเดินทางของสายการบิน ดูแผนที่ถนน ขอการพยากรณ์อากาศในเมืองที่คุณอยู่ หรือค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้ บริษัทส่วนใหญ่ หน่วยงานของรัฐบาล พิพิธภัณฑ์ และห้องสมุดต่างก็มีเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือคอลเลกชันต่างๆ ของตน แหล่งข้อมูลอ้างอิง เช่น พจนานุกรมและสารานุกรม มีอยู่มากมายในเว็บ
เว็บยังเป็นความเพลินใจของนักช้อปอีกด้วย เนื่องจากว่าคุณสามารถเรียกดูและซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ — เช่น หนังสือ เพลง ของเล่น เสื้อผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย — จากเว็บไซต์ของผู้ค้าปลีกต่างๆ และคุณยังสามารถซื้อและขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ที่ใช้ระบบประมูลสินค้าได้ด้วย

อีเมล

อีเมล (ชื่อย่อของ อิเล็กทรอนิกส์เมล) เป็นวิธีการที่สะดวกในการติดต่อกับผู้อื่น เมื่อคุณส่งข้อความอีเมล อีเมลจะไปถึงกล่องขาเข้าของผู้รับเกือบจะทันที โดยคุณสามารถส่งอีเมลให้หลายคนได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถบันทึก พิมพ์ และส่งต่ออีเมลไปยังผู้อื่นได้ คุณสามารถส่ง แฟ้ม แทบทุกชนิดในข้อความอีเมล รวมทั้งแฟ้มเอกสาร รูปภาพ และเพลง และเมื่อคุณใช้อีเมล คุณไม่ต้องติดแสตมป์!

ข้อความโต้ตอบแบบทันที

ข้อความโต้ตอบแบบทันทีเป็นเหมือนการสนทนาแบบในเวลาจริงกับบุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่น เมื่อคุณพิมพ์และส่งข้อความโต้ตอบแบบทันที ผู้เข้าร่วมการสนทนาทุกคนจะมองเห็นข้อความนั้นได้ทันที สิ่งที่แตกต่างจากอีเมลคือผู้เข้าร่วมทุกคนจะต้องออนไลน์ (เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) และอยู่หน้าคอมพิวเตอร์พร้อมกัน การสื่อสารด้วยข้อความโต้ตอบแบบทันทีเรียกว่า การสนทนา

รูปภาพ เพลง และภาพยนตร์

ถ้าคุณมีกล้องดิจิทัล คุณสามารถย้ายรูปภาพจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นคุณสามารถพิมพ์รูปภาพ สร้างการนำเสนอภาพนิ่ง หรือใช้รูปภาพร่วมกับผู้อื่นทางอีเมลหรือโดยการติดประกาศรูปภาพบนเว็บไซต์ นอกจากนี้คุณยังสามารถฟังเพลงบนคอมพิวเตอร์ โดย การนำเข้า (โอนย้ายไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ) เพลงจากซีดีเพลงหรือโดยการซื้อเพลงจากเว็บไซต์เพลง หรือปรับหาคลื่นของสถานีวิทยุนับพันๆ ที่ออกอากาศทางอินเทอร์เน็ต ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีเครื่องเล่นดีวีดี คุณสามารถชมภาพยนตร์ได้

การเล่นเกม

คุณชอบเล่นเกมหรือไม่ เกมคอมพิวเตอร์เป็นพันๆ เกม มีหลากหลายประเภทพร้อมเพื่อสร้างความบันเทิงให้คุณ ไม่ว่าคุณอยากจะจับพวงมาลัยแข่งรถ ต่อสู้สัตว์ประหลาดที่น่ากลัวในคุกมืด หรือสร้างอารยธรรมและอาณาจักร! มีเกมหลายเกมที่จะอนุญาตให้คุณแข่งกับผู้เล่นคนอื่นๆ รอบโลกผ่านทางอินเทอร์เน็ต Windows มีเกมไพ่ เกมปริศนา และเกมเชิงยุทธศาสตร์


การใช้งาน Smart Phone

Smart Phone คืออะไร


Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว

คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS

อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone

  • หูฟัง Bluetooth
    หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth
  • แป้นพิมพ์ - Keyboard ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล
  • จอยสติ๊ก JoyStick สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น
  • อื่นๆ อีกมากมาย

PDA Phone, Palm Phone คืออะไร

  • การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์
  • ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์


โทรศัพท์แบบ Smart Phone

  • Dopod 838 PDA Phone
  • HTC Smart Phone?
  • Motorola A1000
  • Nokia 6680
  • O2 XDA II
  • Samsung i600
  • Sony Ericsson P800, P900
10 วิธีการใช้งาน SmartPhone อย่างชาญฉลาด (Be Smarter About Your Smartphone)
1. รู้วิธีใช้งาน : ถ้าคุณมีสมาร์ทโฟนสักเครื่องและอยากจะใช้งานฟีเจอร์ดีๆ ที่มันมี โปรดมั่นใจว่าคุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการใช้งานมันจริงๆ ไม่ว่าจะเรื่องของการท่องอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ, ปรับขนาดภาพวิดีโอตามความเหมาะสม ทั้งหมดนี้มีสอนบน Youtube อย่าพลาดที่จะเรียนรู้และหัดใช้ให้เป็น
2. รู้ว่าจะปิดเสียงยังไง : ถ้าคุณเรียนรู้ข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมดูวิธีปิดเสียงโทรศัพท์ของคุณ มันแปลกมากที่คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งๆ ที่ไม่ทราบวิธีปิดเสียง มันคงไม่ดีนักถ้าคุณประชุมอยู่แล้วสมาร์ทโฟนดังขึ้น คนอื่นคงไม่มองว่ามัน "สมาร์ท" แล้วกระมัง
3. เรียนรู้มารยาท กาละเทศะ : หรืออะไรก็ตามแล้วแต่จะเรียก ไม่มีใครคนไหนอยากฟังเสียงคุณคุยโทรศัพท์หรอกนะ เชื่อสิ! หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์ในที่สาธารณะ เช่น ในโรงภาพยนต์ โรงพยาบาล ร้านอาหาร และที่ๆ มีคนอยู่เยอะ หากต้องรับสายมันคงจะดีกว่าถ้าคุณจะออกไปโทรศัพท์ข้างนอก
4. ใช้อย่างระมัดระวัง : สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในหายนะของการขับรถ หากจำเป็นต้องสนทนา เลือกใช้ชุดหูฟังเพื่อความปลอดภัยของชีวิตคุณและผู้โดยสารดีกว่า 
5. ปิดการแจ้งเตือนอีเมล : อีเมลบนสมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในตัวสร้างเสียงรบกวนที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด คุณไม่จำเป็นต้องเช็คเมลทุกๆ 30 วินาทีหรอกนะ ถ้าไม่ใช่นักธุรกิจที่ต้องติดต่องานมูลค่าหลายล้าน ขอแนะนำให้ปิดเสียงเตือนอีเมลในโทรศัพท์ ยกเว้นจำเป็นต้องตรวจเช็คอีเมลบ่อยจริงๆ (บ่อยครั้งที่เป็นอีเมลไร้สาระ ไม่เห็นน่าสนใจ)
6. ปิดการแจ้งเตือนทั้งหมด : คุณแน่ใจหรือว่าจะเปิดการแจ้งเตือนทุกอย่าง ? ต้องดูทุกความเคลื่อนไหว ? ปิดไปซะบ้าง จะเห็นว่าชีวิตคุณมีเวลาเหลืออีกเพียบ!
7. ทำความสะอาดเครื่อง (ข้างในระบบ) : ถึงแม้คุณจะมีพื้นที่เก็บข้อมูลแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมหาศาลแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องโหลดแอพพลิเคชั่นมาทุกตัว เลือกใช้เฉพาะที่ใช้งานจริง พนันกันได้เลยว่ามีแอพพลิเคชั่นที่คุณไม่เคยเปิดใช้อยู่ในสมาร์ทโฟนแน่นอน
8. เก็บมันใส่กระเป๋า : ไม่จำเป็นต้องมองเห็นสมาร์ทโฟนวางอยู่บนโต๊ะ หรืออยู่ในห้องประชุม รอคอยเวลาให้มันสั่นหรอกนะ เมื่อคุณไม่ใช้มัน เก็บใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าดีกว่า ไม่เสี่ยงต่อการสูญหายด้วย
9. สำรองข้อมูล : อย่าประมาท เพราะสิ่งสำคัญนอกจากการที่โทรศัพท์หาย นั่นคือข้อมูลก็หายไปด้วย รายชื่อติดต่อมากมาย ? ภาพส่วนตัว ? โปรดแน่ใจว่าคุณสำรองข้อมูลเป็นประจำ หากคุณใช้ iPhone มันเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงสำรองข้อมูลผ่าน iCloud (คนส่วนใหญ่ มักละเลยข้อนี้)
10. ตรวจสอบค่าใช้จ่าย : มั่นใจมากว่ามีหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนแล้วต้องเสียเงิน "แพงกว่าความเป็นจริง" ตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ใช้งานจริง และเลือกโปรโมชั่นหรือการใช้งานที่เหมาะสม อย่ามองว่าต้องมีแพคเกจบุฟเฟต์ Unlimited ในขณะที่ใช้จริงแค่ไม่กี่ร้อยบาท เสียดายเงิน!

ประโยชน์และการใช้งาน Tablet


แท็บเล็ท (Tablet)

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ
"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
 
ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)

"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
 

ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"
 
ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง
 

Post-PC operating systems

ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Tablet สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดการแข่งขันและการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ tablet ขึ้นมาเฉพาะโดยไม่ได้ตามเทคโนโลยีของ PC หรือ PDA เหมือนในอดีต ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมด้าน Hardware หรือ Software ต่างมีผู้ผลิต OS (Operating System) ของตนเองมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าย Windows เองก็พยายามจะรักษาตลาดเดิมของ PocketPC เอาไว้ นอกจากนี้ Apple ผู้ผลิต iPad ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน Tablat อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็มี iOS ที่พัฒนาสำหรับ Tablat โดยเฉพาะและมีจุดแข็งในการผลิตฮาร์ดแวร์เองทำให้ OS สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้คู่แข่งสำคัญอย่าง Google ก็มี Android OS ที่มีจุดแข็งในการเปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อื่นๆ สามารถนำ Android OS ไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ของตน นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่พยายามสร้าง OS ของตนขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ Tablat ของตนเอง เช่น Blacberry Tablet OS ที่อิงระบบ QNX หรือ HP ที่พยายามสร้าง webOS เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ทำไม่สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม Tablat ยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคต Tablat จะเป็นมากกว่ากระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะบรรจุเทคโนโลยีมากมาย อีกทั้งความสามารถด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถของ Tablat เปิดกว้างมายิ่งขึ้น
 

มารู้จักประโยชน์ของการใช้ Tablet ในด้านการศึกษากัน ความสามารถมากมาย เมื่อใช้ Tablet แทนตำราเรียน ช่วยบันทึกข้อมูลการเรียน การสอนได้หลายรูปแบบ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือใช้แทนสื่อการเรียนการสอน

 แหล่งข้อมูลจาก
              http://sompriaw.wordpress.com

ประโยชน์และการใช้งาน Notebook

คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook)


คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการเคลื่อนย้าย
ปรเภทของคอมพิวเตอร์พกพา 
1. โน๊ตบุ๊ค (Notebook) - เครื่องโน๊ตบุ๊ค มีจะน้ำหนักประมาณ 2.7 - 3.6 กิโลกรัม
2. สับโน๊ตบุ๊ค (Sub-Notebook) - มีน้ำหนัประมาณ 1 - 2.7 กิโลกรัม ความสามารถจะต่ำกว่าโน๊ตบุ๊ค
3. ปาล์มทอป (Palmtop) - มีขนาดใกล้เคียงกับม้วนวีดีโอเทป ใช้สำหรังาน นัดหมาย บันทึกนามบัตร
สิ่งสำคัญของคอมพิวเตอร์พกพาคือ แบตเตอร์รี่ ซึ่งทำให้สามารถใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว แบตเตอร์รี่จะใช้ได้นานเพียง 2-3 ชั่วโมง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชาร์ฟไฟอยู่เสมอ

ประเภทของแบตเตอร์รี่ 
1. นิกเกิลแคดเมียม (NiCd) - มีอายุการใช้งาน 1 - 2 ชั่วโมง ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว และการชาร์จไฟ ต้องรอให้แบตหมดก่อน และโดยเฉพาะสารแคดเมียมในแบตเตอร์รี่ยังมีอันตรายอีกด้วย
2. นิกเกิลไฮตราย (NiMH) - มีอายุการใช้งาน 2- 3 ชั่วโมง แบตฯ สามารถอัดไฟได้ตลอดเวลาตามต้องการ
3. ลิเธียมไออน - มีอายุการใช้งาน 4 - 5 ชั่วโมง แบตฯมีอายุการใช้งานนานที่สุดและราคาก็แพงด้วย
ประเภทของจอภาพ 
คอมพิวเตอร์พกพาจะใช้จอภาพ LCD ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับนาฬิกาดิจิตอล
1. จอโมโนโครมแบบ Passive Matrix - จอภาพนี้แสดงได้เพียงสีโทนขาวดำเท่านั้น
2. จอสีแบบ Passtive Matrix - ราคาจะต่ำ และถ้ามองผิดมุมจะมองภาพไม่เห็นด้วย จอภาพชนิดนี้ยังแบ่งได้อีก 2 แบบคือ Dual-Scan Passive Matrix (ดีกว่า) และ Single-Scan Passive Matrix จอภาพ Passive Matrix เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า STN (Super Twist Nematic)
3. จอสีแบบ Active Matrix - จอภาพนี้จะให้ความสว่างและสีที่ดีกว่า มุมมองก็กว้างกว่าด้วย เหมาะสำหรับงานพรีเซ็นเทชั่น จอภพาแบบนี้ บางครั้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า TFT (Thin Film Transissor)
การ์ดขยายที่ใช้สำหรับคอมฯแบบพกพา 
เพื่อเพิ่มความสามารถ เรียกว่า PCMCIA (Personal Computer Memory Card Inernational Association) การ์ด PCMCIA นี้จะมีขนาดใกล้เคียงกับบัตรเครดิต แต่หนากว่า การใช้งานส่วนใหญ่ จะเสียบที่ด้านข้างของตัวเครื่อง
1. PCMCIA Type I - หนาประมาณ 3.3 มิลลิเมตร ใช้สำหรับเพิ่มหน่วยความจำของเครื่อง
2. PCMCIA Type II - หนาประมาณ 5.0 มิลลิเมตร ใช้เป็นการ์ดโมเด็ม การ์ดเครือข่าย หรือการ์ดเสียง
3. PCMCIA Type III - หนาประมาณ 10.5 มิลลิเมตร ใช้เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น ฮาร์ดดิกส์แบบเคลื่อนย้าย

ก่อนจะเลือกซื้อ เพื่อให้ คุณได้ Notebook ที่ถูกใจ มากที่สุด ก่อนอื่น คุณควรจะต้อง ถามใจตัวเอง ก่อนว่า คุณต้องการ Notebook ไปใช้เพื่ออะไร
-เพื่อการพกพา นำไปทำงานนอกสถานที่ หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่ต้องเกี่ยวข้อง กับการเดินทาง และต้องออกไปทำงาน นอก office อยู่บ่อยครั้ง ที่สำคัญ ยังต้องการ เครื่องมือ ที่จะช่วยงานคุณ ได้อย่างทรงประสิทธิภาพ เห็นที คุณต้อง ลงทุนสักหน่อย เพราะคุณต้องการ Notebook แบบพกพา ซึ่งมี ลักษณะ บางและเบา เป็นพิเศษ แน่นอนว่า ราคาก็คง ต้องพิเศษ ตามไปด้วย แต่หากคุณ คิดว่า ประสิทธิภาพ ไม่ใช่ประเด็นหลัก ลองหันมาดู Notebook แบบ Handheld ซึ่งจะมีขนาดเล็ก เป็นพิเศษ คงจะน่าสนใจ แถมราคา ยังย่อมเยาว์ กว่าอีกด้วย สิ่งที่ลืมไม่ได้ สำหรับ ผู้ที่กำลังมองหา Notebook เพื่อการพกพา ไปทำงาน นอกสถานที่ นั่นคือ อัตรา การบริโภค พลังงาน ที่ต้องต่ำ รวมไปถึง แบตเตอรี่ ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ Notebook ที่ใช้ชิป Crusoe ที่มีอายุ การใช้งาน นานถึง 6 - 8 ชั่วโมง เลยทีเดียว ( Fujitsu นำรุ่น Lifebook P-1000 ที่ใช้ Crusoe Chip มาวางขาย ในราคา 74,793 บาท )

-เพื่องาน สมบุกสมบัน นอกสถานที่ คุณสมบัติ ของ Notebook ประเภทนี้ นั่นคือ ความสะดวก ในการพกพา ในขณะเดียวกัน ยังต้องมีตัว Case ที่แข็งแรง อย่างเช่น ทำมาจาก แมกนีเซียม อัลลอยด์ เป็นต้น ที่สำคัญ ยังต้องออกแบบ มาเพื่อกันแรงกระแทก และแรงสั่นสะเทือน เป็นพิเศษอีกด้วย ดังนั้น ส่วนประกอบ ต่างๆ โดยเฉพาะ Harddisk จึงต้อง เป็นรุ่นพิเศษ ที่มีคุณสมบัติ Shock Resistant ในขณะเดียวกัน หาก Keyboard ยังสามารถ กันน้ำได้ด้วย ก็จะยิ่ง พิเศษและ รองรับ งานประเภทนี้ ได้ดียิ่งขึ้น
- เพื่องาน Presentation หากคุณ กำลังมองหา Notebook ที่ตอบสนอง ความต้องการ ในการ Presentation นอกสถานที่ แล้วล่ะก็ คงต้องหา Notebook ประสิทธิภาพสูง ดีๆ สักตัวหนึ่ง เพื่อให้ งานนำเสนอของคุณ รื่นไหล ไม่ติดขัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากการนำเสนอ เป็นภาพเคลื่อนไหว และเป็นแผ่นงานสามมิติ ผ่านโปรแกรม Presentation อย่าง PowerPoint แล้ว คงต้องหวัง พลังจากเครื่องที่สูง พอสมควร แล้วต้องไม่ลืมด้วยว่า ต้องสามารถ พกพาสะดวก มีขนาดที่เบา รวมไปถึง มีระบบมัลติมีเดีย รองรับครบถ้วน ตั้งแต่ Soundcard, Graphic Card ไปจนถึง ลำโพง คุณภาพเยี่ยม

-เพื่อความบันเทิง หากคุณ เป็นคนหนึ่ง ที่มีเงินเหลือพอ และชอบความเป็นอิสระ และรักสนุก เราคิดว่า Notebook เพื่อความบันเทิง คงเหมาะสม สำหรับคุณ จริงๆ แล้ว Notebook แบบนี้ จัดอยู่ใน ประเภทของ Notebook ระดับ High End เนื่องจาก มีการ ใส่ความสามารถ ต่างๆ เอาไว้ อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ การเล่น MP3, ตอบสนอง การเล่นเกมส์ 3 มิติ ไปจนถึง Drive DVD เพื่อรับชมภาพยนตร์ คุณภาพสูง ซึ่ง เพื่อให้ สามารถ รองรับ การทำงาน ระดับนี้ได้ จึงต้องพึ่งพา CPU ความเร็วสูง ในระดับ Pentium III ตามไปด้วย ซึ่ง หลีกเลี่ยงไม่ได้ กับอัตรา การบริโภค พลังงาน ในระดับสูง และค่าตัว ที่สูงขึ้น ตามไปด้วย

-เพื่อแทนที่ Desktop จริงๆ แล้ว Notebook ก็สามารถ ทำงานได้ เสมือนหนึ่ง เป็น Desktop PC ตัวหนึ่ง มีผู้คนไม่น้อย ที่เลือกใช้ Notebook แทนที่ Desktop PC เพราะความสะดวก ที่สามารถ ทำงานได้ทั้งที่ทำงาน หรือจะหอบหิ้ว เอางาน ( ใน Notebook ) มาทำต่อที่บ้าน ก็ได้ เราขอแนะนำว่า Notebook ประเภทนี้ ควรมีประสิทธิภาพ ที่สูง สักหน่อย เพื่อความสามารถ ในการรองรับ การทำงาน ได้อย่างเต็มที่ ไม่น้อยหน้า Desktop PC ที่สำคัญ ต้องไม่ลืม ในเรื่องของ Modem / LAN card เพราะคุณจะได้ ต่อ Notebook เข้า LAN ที่ทำงาน หรือต่อเข้ากับ สายโทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต ที่บ้านได้ อีกทั้ง เราคิดว่า หากคุณ จะลงทุน ซื้อจอ 17 นิ้ว พร้อม Keyboard กับ เม้าส์ แยกออกมาต่างหาก แล้วต่อ Notebook เข้ากับ Dock Station คงจะดีไม่น้อย เพราะจะช่วยแปลง ให้ Notebook กลายเป็นตัวถัง CPU ที่ต่อเชื่อม กับจอ , คีย์บอร์ด, เม้าส์ เสมือนหนึ่ง นั่งทำงาน อยู่หน้า Desktop PC เลยทีเดียว

เทคนิคการเลือกซื้อ ถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่กำลังจะซื้อ Notebook หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้อ Notebook ลองศึกษารายละเอียด เบื้องต้นเหล่านี้ดูก่อน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการตัดสินใจให้แก่ท่าน เนื่องจากราคาของ Notebook จะมีราคาค่อนข้างสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่อง Desktop ทั่ว ๆ ไป
คุณสมบัติของ Notebook ที่ควรพิจารณา
1. จอภาพ 
ควรมีขนาดใหญ่ เพราะยิ่งใหญ่จะยิ่งชัด และควรเป็นจอภาพแบบ TFT
ความละเอียดควรกำหนดได้อย่างน้อย 800 * 600
จำนวนสีที่สามารถกำหนดได้อย่างต่ำควรเป็น 16 บิต
2. แบตเตอรรี่ 
ควรใช้ ลิเธียมไอคอน เพราะว่ามีอายุการใช้งานนานที่สุดในบรรดาแบตเตอรรี่อื่นๆ
3. หน่วยความจำ 
ควรติดตั้งแรมให้มากเท่าที่จะสามารถทำได้ อย่างน้อย 64 MB
4. ฮาร์ดดิกส์ 
อย่างน้อย 5 GB ขึ้นไป เพราะว่าปัจจุบันโปรแกรมส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก
5. ระบบมัลติมีเดีย 
หมายถึง CD-Rom หรือ DVD Drive บวกกับ Sound card ส่วนใหญ่เป็นพื้นฐานไปแล้วสำหรับเครื่องคอมฯ รุ่นใหม่ ๆ แต่ก็ไม่ควรพลาดที่จะมีไว้ เนื่องจากซอร์ฟแวร์ใหม่ ๆ จะบันทึกผ่านทางแผ่น CD
6. โมเด็ม 
ห้ามพลาดทีเดียว ถ้าคุณต้องการเล่น internet และต้องการส่ง fax ผ่านเครื่องคอมฯ
7. เน็ตเวิร์คการ์ด 
สำหรับเชื่อมระบบเครือข่าย ถ้าคุณมีการใช้งานในระบบเครือข่าย (Network) บางยี่ห้อ บางรุ่นก็แถมมาให้ด้วยครับ
8.คุณสมบัติพิเศษ
-สีสัน : หลังจากที่ Imac ประสบความสำเร็จ กับการนำสีสัน มีใช้ ทำให้ ผู้ผลิต PC หลายราย พยายาม ยืมรูปแบบนี้ มาใช้บ้าง เพื่อตอบสนอง ผู้ใช้ ที่ต้องการสีสัน และความสนุกสนาน ในการทำงาน หลังจาก ที่ต้องทน อยู่กับ ตัวเครื่องสีดำ หรือ สีเงินเมทัลลิก มานาน ดูเหมือนว่า Compaq จะเป็นผู้เล่น รายแรกๆ ที่นำเอา สีสันมาใช้ ใน Notebook ของตน ซึ่งจะพบเห็นได้ในรุ่น Presario 1400 แถมยังโดดเด่น ด้วยความสามารถ ในการถอดหน้ากากสี ได้อีกด้วย นอกจาก Compaq แล้ว ทางค่าย Asus ผู้ผลิต Mainboard ชื่อดัง ที่หันมาเอาดี ด้าน Notebook ด้วย ก็ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มาพร้อมกับสีสันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

-Multimedia : มี Notebook มากมาย ที่พยายาม แปลงตัวเอง จากคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไป ให้กลายเป็น สถานีความบันเทิง แบบพกพาได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจ หากคุณจะพบว่า Notebook ในหลายๆ รุ่น ได้ถูกอัดแน่น ไปด้วยความสามารถ ในการตอบรับ ความบันเทิง ทั้ง ตั้งแต่เล่นแผ่น DVD ไปจนถึง เป็นเครื่องเล่น MP3 หากคุณเอง เป็นคนหนึ่ง ที่ชื่นชอบ คุณสมบัติเหล่านี้ อย่าลืมดูด้วยว่า ลำโพงที่มาพร้อมกับ Notebook นั้น มีประสิทธิภาพ มากน้อยเพียงใด ง่ายๆ เลยนั่นคือ ให้คุณทดลองฟัง ด้วยตัวคุณเอง เพื่อตัดสินใจ เพราะลำโพง เป็นปัจจัยหลักประการหนึ่ง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความบันเทิง ให้กับ Notebook ของคุณ ทิ้งท้าย ไว้สักนิดว่า หากคุณ ชื่นชอบ คุณสมบัตินี้ล่ะก็ คงไม่เหมาะนัก ที่จะนำไปใช้งาน นอกสถานที่ เพราะอายุการใช้งาน Battery จะสั้นลงถนัดตา จากปกติ 3 - 4 ชั่วโมง เหลือเพียงไม่ถึงชั่วโมงเท่านั้น

-กระเป๋า Notebook : หากคุณ จะหอบหิ้ว Notebook ไปไหนมาไหน โดยไม่มีกระเป๋าใส่ ก็คงไม่ดีนัก ดังนั้น ผู้ขาย จึงมักจะแถมกระเป๋า ใส่ Notebook มาพร้อมด้วย แต่กระเป๋าที่แถมมานี้ ก็ใช่ว่า จะมีคุณภาพที่ดีนัก ส่วนใหญ่แล้ว ไม่แตกต่างจาก กระเป๋าใส่เอกสาร สักเท่าไหร่ สำหรับ กระเป๋า Notebook ที่ดีนั้น ควรจะทำมาจาก วัสดุ ที่แข็งแรง และมีการบุฟองน้ำ หรือวัสดุ ที่ช่วยซับ แรงกระแทก อีกทั้ง ภายในกระเป๋า ควรจะมี ช่องต่างๆ ให้ใส่อุปกรณ์ สำหรับ Notebook ได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ แบตเตอรี่สำรอง, ที่ชาร์จแบต, CD-Drive ไปจนถึง ที่ใส่แผ่น CD ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ เพื่อคุณจะได้ มีกระเป๋าแบบ All in 1 ที่มีอุปกรณ์ทุกอย่าง ครบอยู่ในตัว

-การบริการ : อย่านึกว่าไม่สำคัญนะครับ เพราะว่า Notebook ไม่เหมือน Desktop PC อันดับแรกเลย นั่นคือ ด้วยราคาค่าตัว ที่สูงกว่ามาก อีกทั้ง อุปกรณ์ภายในต่างๆ ก็มีความซับซ้อน ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ง่ายๆ หรือทำได้ด้วยตนเอง เหมือน PC ทั่วไป ทำให้คุณ ต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้ขายของคุณ มีบริการหลังการขาย ที่ดีหรือไม่ คุณจะได้ไม่ต้องมานั่ง เสียใจ ในภายหลัง เราชื่นชอบอย่างมาก กับผู้ให้บริการบางราย ที่จะให้ Notebook เครื่องใหม่ มาให้คุณยืมใช้ในทันที หากไม่สามารถ ซ่อมแซมได้ ภายใน 1 วัน ซึ่งช่วยให้ งานของคุณ ไม่หยุดชะงัก ตามไปด้วย

การเลือกซื้อ 
1. การเลือกซื้อ Notebook ควรกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ไว้ค่อนข้างสูง เนื่องจากการ upgrade จะค่อนข้างลำบาก เนื่องจากต้องใช้ชิ้นส่วนเฉพาะรุ่น และราคาชิ้นส่วนก็ค่อนข้างสูงด้วย
2. ราคาของ Notebook เมื่อเทียบคุณสมบัติชิ้นส่วนต่อชิ้นส่วนแล้ว ราคา Notebook จะค่อนข้างสูงกว่า Desktop มาก บางรุ่นสูงถึง 100%
3. อุปกรณ์เสริมสำหรับ Desktop ส่วนใหญ่ ไม่สามารถใช้งานได้กับ Notebook

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คขนาดเล็ก

มินิคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีชิ้นใหม่ที่ดีของอุปกรณ์และพวกเขามีผลประโยชน์แตกต่างกันมากพวกเขาประหยัดพื้นที่, เงิน, เวลาและ เหล่านี้ gadgets ใหม่ขนาดเล็กไม่เสียค่าใช้จ่ายโชคและมีขนาดเล็กพอที่คุณสามารถใช้พวกเขาทุกที่โดยไม่ต้องมีการจัดการกับถุงขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยสายไฟและซีดีที่มักจะอยู่ในที่มีแล็ปท็อปปกติ

ค่าใช้จ่ายของโน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่ยังเป็นบวก! ถ้าคุณเช่าแล็ปท็อปแล้วคุณจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นว่าถ้าคุณกำลังจะซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คและเมื่อการให้เช่าที่คุณไม่ได้เป็นของตัวเองซึ่งหมายความว่าอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ "ขายบิ๊ก","Outlet คอมพิวเตอร์"หรือ"ซื้อโน๊ตบุ๊คแล็ปท็อป"คุณจะเห็นสัญญาณเช่นนี้และคุณอาจคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่มันเป็นทั้งหมดที่มักจะมีราคาแพงเกินไป แล็ปท็อปโน้ตบุ๊คที่มีขนาดใหญ่มีราคาแพงมากขึ้นเพราะพวกเขามีคุณสมบัติเพิ่มมากที่สุดของเราไม่เคยใช้ คอมพิวเตอร์เหล่านี้ให้คุณเลือกที่ไม่ต้องซื้อเป็นหนึ่งในบรรดาโน๊ตบุ๊คแล็ปท็อปที่มีราคาแพงเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่มีราคาไม่แพงมากและไม่ทั้งหมดเป็นสิ่งพื้นฐานที่เรามักจะกำล​​ังมองหาในสมุดบันทึก

มินิคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมีบางส่วนของคุณสมบัติที่ดีที่สุดที่ก็ไม่สามารถเปรียบเทียบกับรูปแบบขนาดใหญ่อื่น ๆ มันมีขนาดเล็กซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่พูดสำหรับตัวเองมันเป็น; คุณสามารถใช้พวกเขาทุกใช้พวกเขาอย่างรวดเร็วและง่ายดายและพวกเขาจะดีสำหรับคนผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการในการท่องเว็บ

โน้ตบุ๊คเป็นวิธีที่ดีที่จะสอนให้ยายวิธีการอ่านอีเมลที่ร้านค้าและร้านค้าออนไลน์ สำหรับบรรดาของคุณที่ไม่ได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมที่ซับซ้อนสำหรับงานมืออาชีพแล้วคุณจริงๆไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่าแล็ปท็อปมีราคาแพง หากคุณชอบฉันและจริงๆเท่านั้นใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบางอย่างการเขียนแสงและการท่องเว็บเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วเป็นโน้ตบุ๊คขนาดเล็กที่ดีที่สุดคือมันไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและมันไม่ทุกสิ่งที่คุณต้องการจะทำ

ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่ต้องการสิ่งที่จดบันทึกในชั้นเรียนเป็นโน้ตบุ๊คที่เหมาะเป็นอย่างยิ่งเพราะมันมีขนาดเล็กน้ำหนักเบาและไม่ได้เพิ่ม £ 10 ถึงหนังสือที่คุณมีอยู่แล้วดำเนินรอบ โบนัสมีเหตุผลที่ดีมากที่จะซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คขนาดเล็กราคาต่ำและขนาดเล็กที่มีการเพิ่มเพียงเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี 

ประโยชน์และการใช้งาน Micro Computer

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ

แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป

ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

ที่มา โครงการพัฒนาความรู้


ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
               ไมโคร คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี ขนาด เล็ก บาง คน เห็น ว่า เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ ใช้ งาน ส่วน บุคคล หรือ เรียก ว่า พี ซี (Personal Computer : PC) สามารถ ใช้ เป็นเครื่องต่อ เชื่อม ใน เครือ ข่าย หรือ ใช้ เป็นเครื่องปลาย ทาง (terminal) ซึ่ง อาจ จะ ทำ หน้า ที่ เป็น เพียง อุปกรณ์ รับ และ แสดง ผล สำหรับ ป้อน ข้อ มูล และ ดู ผล ลัพธ์ โดย ดำ เนิน การ การ ประมวล ผล บนเครื่องอื่น ใน เครือ ข่าย อาจ จะ กล่าว ได้ ว่า ไมโคร คอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ มี หน่วย ประมวล ผล กลาง เป็น ไมโคร โพรเซสเซอร ์ ใช้ งาน ง่าย ทำ งาน ใน ลักษณะ ส่วน บุคคล ได้ สามารถ แบ่ง แยก ไมโคร คอมพิวเตอร์ ตาม ขนาด ของเครื่องได้ ดัง นี้ 

คอมพิวเตอร์ แบบ ตั้ง โต๊ะ (desktop computer) เป็น ไมโคร คอมพิวเตอร์ ที่ มี ขนาด เล็ก ถูก ออก แบบ มา ให้ ตั้ง บน โต๊ะ มี การ แยก ชิ้น ส่วน ประกอบ เป็น ซี พียู จอ ภาพ และ แผง แป้ง อักขระ


แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็น ไมโคร คอมพิวเตอร์ ขนาด เล็ก ที่ วาง ใช้ งาน บน ตัก ได้ จอ ภาพ ที่ ใช้ เป็น แบบ แบน ราบ ชนิด จอ ภาพ ผนึก เหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำ หนัก ของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็น ไมโคร คอมพิวเตอร์ ที่ มี ขนาด และ ความ หนา มาก กว่าแล็ปท็อ ป น้ำหนัก ประมาณ 1.5-3 กิโลกรัมจอ ภาพ แสดง ผล เป็น แบบ ราบ ชนิด มี ทั้ง แบบ แสดง ผล สี เดียว หรือ แบบ หลาย สี โน้ตบุ๊คที่ มี ขาย ทั่ว ไป มี ประสิทธิภาพ และ ความ สามารถ เหมือน กับแล็ปท็อป

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถ ของระบบ
   จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
           ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
  หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความ สามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้าน วิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
           เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
  หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วน ความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นใน ตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึง หลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
           มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
  ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็น ต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนา คอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
           ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
  หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและ ความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่า เครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็น บริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิล
ประเภทของ คอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
           คอมพิวเตอร์ แบบแอนะล็อก (Analog Computer)
   หมาย ถึง เครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการวัด (Measuring Principle) ทำงานโดยใช้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) แสดงออกมาในลักษณะสัญญาณที่เรียกว่า Analog Signal เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักแสดงผลด้วยสเกลหน้าปัทม์ และเข็มชี้ เช่น การวัดค่าความยาว โดยเปรียบเทียบกับสเกลบนไม้บรรทัดการวัดค่าความร้อนจากการขยายตัวของปรอท เปรียบเทียบกับสเกลข้างหลอดแก้ว
นอกจาก นี้ยังมีตัวอย่างของ Analog Computer ที่ใช้การประมวลผลแบบเป็นขั้นตอน เช่น เครื่องวัดปริมาณการใช้น้ำด้วยมาตรวัดน้ำ ที่เปลี่ยนการไหลของน้ำให้เป็นตัวเลขแสดงปริมาณ อุปกรณ์วัดความเร็วของรถยนต์ในลักษณะเข็มชี้ หรือเครื่องตรวจคลื่ยสมองที่แสดงผลเป็นรูปกราฟ เป็นต้น
         คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)
   ซึ่ง ก็คือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำงานทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นเครื่องมือประมวลผลข้อมูลที่อาศัยหลักการนับทำงานกับข้อมูลที่มีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ในลักษณะของสัญญาณไฟฟ้า หรือ Digital Signal อาศัยการนับสัญญาณข้อมูลที่เป็นจังหวะด้วยตัวนับ (Counter) ภายใต้ระบบฐานเวลามาตรฐาน ทำให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งสามารถนับข้อมูลให้ค่าความละเอียดสูง เช่นแสดงผลลัพธ์เป็นทศนิยมได้หลายตำแหน่ง เป็นต้น เนื่องจาก Digital Computer ต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า (มนุษย์สัมผัสไม่ได้) ทำให้ไม่สามารถรับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นทางได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลต้นทางที่รับเข้า (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Digital Signal) เสียก่อน เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้ากลับไปเป็น Analog Signal เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ต่อไป
โดยส่วนประกอบสำคัญ ที่เรียกว่า ตัวเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล (Converter) คอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณข้อมูล ระหว่าง Digital Signal กับ Analog Signal
           คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)
   เครื่อง ประมวลผลข้อมูลที่อาศัยเทคนิคการทำงานแบบผสมผสาน ระหว่าง Analog Computer และ Digital Computer โดยทั่วไปมักใช้ในงานเฉพาะกิจ โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในยานอวกาศ ที่ใช้ Analog Computer ควบคุมการหมุนของตัวยาน และใช้ Digital Computer ในการคำนวณระยะทาง เป็นต้น
การทำงานแบบผสมผสาน ของคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ ยังคงจำเป็นต้องอาศัยตัวเปลี่ยนสัญญาณ (Converter) เช่นเดิม
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก – ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ
8. ประโยชน์ด้านการคำนวณ   การคำนวณ  หมายถึง  การบวก ลบ คูณ หารหรือการหาคำตอบด้วยการคำนวณตัวเลข  ใช้มากในงานด้านบัญชี   การคำนวณราคาสินค้า  เช่น  เวลาที่นักเรียนไปซื้อสินค้าในร้านมินิมาร์ท  นักเรียนจะเห็นพนักงานเก็บเงินของร้านใช้เครื่องคำนวณราคาสินค้ารวมเงินค่าสินค้าให้เราและคิดเงินทอนให้อย่างสะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์
9.  ประโยชน์ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ   เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนการออกแบบงานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
10ประโยชน์ด้านการพิมพ์เอกสาร   การพิมพ์เอกสาร   เช่น  รายงาน หนังสือ  หนังสือพิมพ์    นิตยสาร    การ์ดวันเกิด   การ์ดอวยพรปีใหม่   ฯลฯ   ล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำทั้งสิ้นเพราะสามารถออกแบบได้สวยงามและประหยัดค่าใช่จ่ายในการพิมพ์


MegaBit Per Second(Mbps)

  Mbps หรือ Mbit/s ย่อมาจาก Megabit Per Second คือ หน่วยที่ใช้วัดอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที ซึ่งหมายถึงหนึ่งล้านบิตต่อวินาที เป็นการวัด Bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilo bits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ giga bits ต่อวินาที) ตัวอย่าง Mbps ที่มักพบเห็นได้บ่อย อย่างการวัดความเร็วอินเตอร์ เป็นต้นการตรวจสอบว่าเน็ตที่เราใช้อยู่มีความเร็วในการรับส่งของมูลกี่ Mbps สามารถตรวจสอบได้ตามลิงค์ นี้ วัดความเร็วเน็ตทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต



 Mbps หรือ Mbit/s ย่อมาจาก Megabit Per Second คือ หน่วยที่ใช้วัดอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที ซึ่งหมายถึงหนึ่งล้านบิตต่อวินาที เป็นการวัด Bandwidth (การไหลรวมของสารสนเทศในเวลากำหนด) บนตัวกลางโทรคมนาคม ช่วงของ bandwidth ขึ้นกับตัวกลางและวิธีการส่ง ในบางครั้งวัดเป็น Kbps (พันบิต หรือ kilo bits ต่อวินาที) จนถึง Gbps (พันล้านบิต หรือ giga bits ต่อวินาที) ตัวอย่าง Mbps ที่มักพบเห็นได้บ่อย อย่างการวัดความเร็วอินเตอร์ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง
http://com5dow.com
http://th.wikipedia.org
http://lightspeed.in.th/Mbps

3G

    3G หมายถึงรุ่นที่ 3 ของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (เซลลูลาร์) รุ่นที่ 3 นี้ ตามชื่อที่เรียกตามหลังสองรุ่นก่อนหน้านี้
เทคโนโลยี 1 จี เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1980 ประมาณปี พ.ศ.2523 ด้วยเครือข่ายโทรศัพท์เซลลูลาร์แอมป์ (AMPS ย่อจาก Advanced Mobile Phone) ที่รองรับเสียงแบบอะนาล๊อกบนแถบความถี่ 800 เมกกะเฮิร์ซ เหมือนกับการกระจายเสียงวิทยุทั่วไป
เทคโนโลยี 2 จี เกิดขึ้นในทศวรรษ 1990 ประมาณปี พ.ศ.2533 ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือใช้เทคโนโลยีรองรับเสียงในระบบดิจิตอล ซึ่งมีสองเทคโนโลยี 1) เทคโนโลยี ซีดีเอ็มเอ (CDMA ย่อจาก Code Division Multiple Access) ที่สามารถเรียกได้มากถึง 64 สายต่อช่องบนแถบความถี่ 800 เมกกะเฮิร์ซ มีการใช้ในสหรัฐและแบบที่ฮัท์ชใช้อยู่ในประเทศไทย 2) เทคโนโลยีจีเอสเอ็ม (GSM ย่อจาก Global System for Mobile) ซึ่งสามารถเรียกได้ 8 สายต่อช่องสัญญาณ บนแถบความถี่ 800 ถึง 1800 เมกกะเฮิร์ซ
The International Telecommunications Union (ITU) กำหนด มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่3จี คือ IMT-2000 เพื่ออำนวยการเติบโต เพิ่มแถบความกว้างความถี่ และสนับสนุนโปรแกรมประยุกต์หลากหลาย ตัวอย่าง GSM สามารถไม่เพียงเสียง แต่รวมถึงข้อมูลสวิตช์วงจรที่อัตราความเร็วสูงถึง 14.4 Kbps แต่สนับสนุนการประยกต์มัลติมีเดีย 3จีต้องส่งมอบข้อมูลสวิตช์แพคเกตด้วยประสิทธิภาพดี ที่ความเร็วสูงกว่า
อย่างไรก็ตาม ในช่วงยกระดับจาก 2 จี เป็น 3 จี ผู้ให้บริการโทรศัพท์ได้ปฏิรูปเครือข่าย พร้อมกับแผน “ปฏิวัติ” เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ ซึ่งได้นำไปสู่ก่อตั้ง 3GPP (3rd Generation Partnership Project) และ 3GPP2 (3rd Generation Partnership Project 2)
3rd Generation Partnership Project (3GPP) ก่อตั้งในปี 1998 เพื่อพัฒนาเครือข่าย 3 จี จาก GSM เทคโนโลยีที่พัฒนาคือ
      - General Packet Radio Service (GPRS) เสนอความเร็วสูงถึง 114 กิโลบิตต่อวินาที
      - Enhanced Data Rates for Global Evolution (EDGE) เสนอความเร็วสูงถึง 384 กิโลบิตต่อวินาที
      - UMTS Wideband CDMA (WCDMA) เสนอความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 1.92 เมกกะบิตต่อวินาที
      - High Speed Downlink Packet Access (HSDPA) เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 14 เมกกะบิตต่อวินาที
      - LTE Evolved UMTS Terrestrial Radio Access (E-UTRA) มีเป้าหมายที่ 100 เมกกะบิตต่อวินาที
  GPRS มีให้ในปี 2543 ตามด้วย EDGE ในปี 2546 เทคโนโลยีนี้บางครั้งเรียกว่า 2.5 จี เพราะไม่ได้เสนออัตราข้อมูลหลายเมกะบิต (multi-megabit) EDGE ได้รับการแทนที่โดย HSDPA (และหุ้นส่วนอัพลิงค์ HSUPA) ตามรายงานของ 3GPP กล่าวว่า HSDPA มี 166 เครือข่ายใน 75 ประเทศเมื่อสิ้นปี 2550 LTE E-UTRA ซึ่งเป็นขั้นไปของ GSM จะสามารถนำมาใช้ได้ในปี 2551
องค์กรที่สอง 3rd Generation Partnership Project 2 (3GPP2) ได้รับการก่อตั้งเพื่อช่วยผู้ให้บริการโทรศัพท์อเมริกาเหนือและเอเซียในการปรับแปลง CDMA2000 ไปสู่ 3 จี เทคโนโลยีที่ 3GPP2 พัฒนาคือ
      - One Times Radio Transmission Technology (1xRTT) เสนอความเร็วสูงถึง 144 กิโลบิตต่อวินาที
      - Evolution – Data Optimized (EV-DO) เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 2.4 เมกกะบิตต่อวินาที
      - EV-DO Rev. A เพิ่มความเร็วรับข้อมูลสูงถึง 3.1 เมกกะบิตต่อวินาที และลดซ่อนเร้นอยู่ภายใน
      - EV-DO Rev. B สามารถใช้ 2 ถึง 5 ช่อง แต่ละการรับข้อมูลสูงถึง 4.9 เมกกะบิตต่อวินาที
      - Ultra Mobile Broadband (UMB) ตั้งเป้าหมายให้ถึง 288 เมกกะบิตต่อวินาทีในการรับข้อมูล
1xRTT มีให้ในปี 2545 ตามด้วย EV-DO Rev. 0 เชิงพาณิชย์ในปี 2547 อีกครั้ง 1xRTT ได้รับการอ้างเป็น “2.5จี” เพราะสิ่งนี้รองรับขั้นการปรับแปลงไปสู่ EV-DO มาตรฐาน EV-DO ได้รับการขยายสองเท่า ซึ่ง Revision A ออกมาใช้ในปี 2549 และกำลังถูกแทนที่โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ Revision B ที่เพิ่มอัตราข้อมูลโยการส่งผ่านหลายช่อง UMB ที่เป็นเทคโนโลยีต่อไปของ 3GPP2 อาจจะไม่แพร่หลาย เพราะโอเปอร์เรเตอร์ CDMA กำลังวางแผนปฏิรูป LTE แทน
ตามความจริง LTE และ UMB มักจะได้รับการเรียกว่า เทคโนโลยี 4จี (fourth generation) เพราะเพิ่มความเร็วดาวน์ลิงค์ตามลำดับของขนาด ป้ายนี้คือ มาก่อนกำหนดเล็กน้อยเพราะ การสร้าง “4จี” ยังไม่เป็นมาตรฐาน ITU กำลังพิจารณาคู่แข่ง สำหรับการสรุปในมาตรฐาน 4G IMT-Advanced รวมถึง LTE, UMB และ WiMAX II เป้าหมายของ 4จี รวมถึง อัตราข้อมูลอย่างน้อย 100 Mbps การส่งผ่าน OFDMA การส่งมอบแพคเกตสวิตช์ของเสียง ข้อมูล และมัลติมีเดียต่อเนื่องบนฐาน IP

ข้อมูลจาก : widebase.net http://www.com5dow.com

E-Commerce

ความรู้เบื้องต้น E-Commerce
E-business คืออะไร
      e-Business นั้น คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ
BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน
EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต
CRM=Customer Relationship Management:
การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า
SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค
ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน
E-Commerce คืออะไร
    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)
จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น 
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business
ประเภทของ E-Commerce   
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com
ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย


ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/project/e-guide/index.html
       : e-Commerce FAQ คำถามนี้มีคำตอบ โดยศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ หน้า 19-20
       : หนังสือ e-commerce คู่มือประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หน้า 36-38
         
http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce
         http://202.28.94.55/webclass/pub-lesson.cs?storyid=278