วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิดีทัศน์เพื่อการศึกษา

สื่อวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา


ความหมายของสื่อวิดีทัศน์

วีดิทัศน์เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพ ภาพทำหน้าที่หลักในการนำเสนอ เสียงจะเข้ามาช่วยเสริมในส่วนของภาพเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องมากยิ่งขึ้น วีดิทัศน์เป็นสื่อในลักษณะที่นำเสนอเป็นภาพเคลื่อนไหว และสร้างความต่อเนื่องของการกระทำของวัตถุจากเรื่องราวต่างๆ สร้างความรู้สึกใกล้ชิดกับผู้ชม เป็นสื่อที่เข้าถึงง่าย มีความรวดเร็วสามารถเสนอเหตุการณ์ได้ทันที ถ้าเสนอรายการผ่านระบบโทรทัศน์ ก็จะเป็นรายการโทรทัศน์

การผลิตวีดิทัศน์ในการศึกษานั้น เป็นเรื่องของการสื่อสาร การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ วีดิทัศน์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนและครูเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ขั้นตอนการผลิตนั้นเหมือนกับการผลิตรายการวีดิทัศน์ทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียดความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และการสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้ การสอน รายการวีดิทัศน์ ที่มีคุณภาพนั้นต้องสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์หลักที่ตั้งเอาไว้

ความหมายของสื่อวิดีทัศน์(ดั้งเดิม)
คำว่า“วีดิทัศน์” มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า“Video Tape” ซึ่งมีความหมายว่า แถบบันทึกวีดิทัศน์ แถบบันทึกภาพ เทปบันทึกภาพ เทปวีดิทัศน์ ซึงแต่เดิมคำว่าVideo เป็นภาษาลาติน แปลว่า“I see = ฉันเห็น” เมื่อมาเป็นภาษาไทยกใช้คำว่า“ภาพ”
ต่อมาในปี พ่.ศ.2525 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แนะนำให้ใช้ คำว่า“ภาพทัศน์” โดยอาศัยบัญญัติคำใกล้เคียงกับภาพยนตร์ คำนี้ปรากฏในเอกสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2530 ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติคำว่า“วีดิทัศน์” แทนคำว่า Video คำว่า วีดิ มาจากคำว่า วิติ ซึ่งแปลว่ารื่นรมย์ หรือชวนให้รื่นรมย์ จึงทำให้ใช้คำว่าวีดิทัศน์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2540)



กิดานันท์ มลิทอง (2536) ได้กล่าวว่าวีดิทัศน์ (Video Tape) ซึ่งตามปกติเรามักเรียกทับศัพท์ว่า“วีดิโอเทป” เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญที่สามารถใช้ในการบันทึกภาพ และเสียงไว้ได้พร้อมกันในแถบเทปในรูปของคลืนแม่เหล็กไฟฟ้า และยังสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ได้


รสริน พิมลบรรยงก์(2536) ได้อธิบายว่า วีดิทัศน์ คือ เทปที่ใช้บันทึกภาพ และเสียงไว้ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถลบแล้วบันทึกใหม่ หรือบันทึกซ้ำได้


วชิระ อินทร์อุดม (2539) ให้ความหมายวีดิทัศน์ว่า เป็นวัสดุที่สามารถใช้บันทึกภาพและเสียงได้ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการทางแสงเสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสามารถบันทึกและเปิดให้ชมได้ทันที โดยอาศัยเครื่องเล่นบันทึกวีดิทัศน์ ซึ่งสามารถบันทึกและลบสัญญาณภาพและเสียงได้


ประทิน คล้ายนาค (2545) ให้ความหมายของวีดิทัศน์ในทางเทคนิคว่า เป็นการใช้กล้องอิเล็กทรอนิกส์ ถ่ายภาพเคลื่อนไหว พร้อมกับเสียงแล้วส่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปออกที่จอโทรทัศน์


คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ ได้พิจารณาเห็นว่า Video เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเดียวกับ Television ซึ่งมีคำไทยใช้ว่า โทรทัศน์ แล้ว สมควรคิดหาคำไทยใช้กับ Video ด้วยโดยคำที่จะ คิดขึ้นนี้ควรจะมีคำว่า “ทัศน์” ประกอบอยู่ด้วย เพื่อให้เข้าชุดกัน   และควรหาคำที่จะมีเสียงใกล้เคียงกับ คำทับศัพท์ที่นิยมใช้กันอยู่แล้วซึ่งจะทำให้มีการยอมรับศัพท์ที่คิดขึ้นได้ง่าย
(วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี)


จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ คือ วีดิทัศน์ หมายถึง แถบวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งเป็นแถบเคลือบแม่เหล็กสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้หลายมิติ เช่น ภาพ และเสียง ในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถตัดต่อ เพิมเติม ลบข้อมูลภาพและเสียงออกได้ โดยมีอุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูลสัญญาณภาพและเสียง ที่เรียกว่า เครื่องเล่นวิดีทัศน์

ลักษณะความหมายของสื่อวิดีทัศน์ใหม่
ปัจจุบัน วิดีทัศน์ที่อยู่ในรูปของเส้นเทปเคลือบสารแม่เหล็ก ในฝั่งผู้ใช้งานทั่วไป  แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีของกระบวนการบันทึกและการอ่านสัญญาณวิดีทัศน์ได้แปรเปลี่ยนจากการบันทึกลงบนเส้นแม่เหล็ก เป็นการบันทึกด้วยเทคโนโลยีเชิงแสงกันเกือบทั้งหมด โดยการเล่นผ่านเครื่องเล่น VCD, DVD BlueRay ส่งสัญญาณภาพและเสียงให้ได้เห็นและได้ยินอย่างสมบูรณ์ ผ่าน เครื่องรับโทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์มัลติมีเดียประเภท LCD LED หรือ Plasma เป็นต้น

ฝั่งการผลิต ยังคงมีเทคโนโลยีเส้นเทปอยู่แต่จะมีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกโดยเคลือบสารแม่เหล็กพิเศษ นอกจากนี้มี อีก 2 เทคโนโลยี ที่นำมาใช้งานร่วมด้วย ได้แก่ หน่วยเก็บบันทึกบนจานแม่เหล็ก : harddisk และหน่วยบันทึกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ SSD : Solid State Disc(Drive) เข้ามาใช้งาน


ลักษณะเฉพาะของวีดิทัศน์
  1. เป็นสื่อที่สามารถเห็นได้ทั้งภาพ และฟังเสียง
  2. มีความคงที่ของเนื้อหา
  3. เสนอเป็นภาพเคลื่อนไหวที่แสดงความต่อเนื่องของการกระทำ
  4. ใช้ได้ทั้งผู้ชมทั้งที่เป็นกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
  5. เสนอได้ทั้งภาพจริงและกราฟิกต่างๆ
  6. สามารถเก็บเป็นข้อมูลและนำมาเผยแพร่ได้หลายครั้ง


ประเภทของรายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา
รายการวีดิทัศน์เพื่อการศึกษาตามลักษณะของรายการไม่แตกต่างจากรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ซึ่งจำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
  1. รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Education Television : ETV)
    รายการประเภทนี้มุ่งส่งเสริมการให้ความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ แก่ผู้ชม เช่น สารคดี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น
  2. รายการโทรทัศน์เพื่อการสอน (Instruction Television ITV)
    รายการประเภทนี้เน้น ในเรื่องการเรียนการสอนแก่กลุ่มผู้ชมบางกลุ่มโดยตรง ใช้ได้ทั้งการสอนเนื้อหาทั้งหมดเป็นหลัก และการสอนเสริม มักจะเป็นรายการที่ครอบคลุมกระบวนการเรียนการสอนที่สมบูรณ์ ตั้งแต่วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผล ใช้ได้ทั้งภายในสถานศึกษาโดยตรง หรือการศึกษาระบบเปิด เช่น รายการสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม


วิธีการเรียนรู้
จากการศึกษารายละเอียดของรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและสื่อบทเรียนวีดิทัศน์ ที่ผ่านมา พอจะเห็นว่า เป็นระบบและสื่อที่ให้ความน่าสนใจกับผู้เรียนได้ดี สามารถตรึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ยาวนาน ด้วยจุดเด่นความพร้อม ของภาพและเสียง จึงเป็นระบบและสื่อที่มีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาในหลากหลายด้าน ซึ่งนักการศึกษาได้กล่าวถึง ประโยชน์ของวีดิทัศน์ และบทเรียนวีดิทัศน์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสรุปได้ดังนี้ คือ
  1. มีประสิทธิภาพการในการสื่อสารสูง มีทั้งภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน
  2. สามารถต่อขยายให้ผู้เรียนดูครั้งละหลาย ๆ คนได้กล่าวคือ สามารถให้ดูได้ครั้งละมากถึงเป็นพัน ๆ คนได้
  3. สามารถหยุดดูภาพนิ่งบางจุดหรือดูซ้ำอีกหรือดูภาพช้าได้โดยไม่ทำให้เนื้อเรื่องเสียไป
  4. ใช้ประกอบการเรียน ซ่อมเสริม รายบุคคลหรือรายกลุ่มคนโดยใช้ได้ทั้งผู้ที่เรียนช้าหรือผู้ที่เรียนเร็ว โดยให้เรียนไปตามความสามารถของบุคคลได้
  5. ใช้ในการฝึกทักษะการแสดงหรือการสอนของครูได้
  6. สามารถแพร่ภาพและเสียงหรือนำเอาเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรือเรื่องราวที่อยู่ไกล ๆ มาให้ชมได้
  7. แสดงการสาธิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถทำให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่ต้องการเน้นโดยใช้เทคนิคการถ่ายใกล้ (Close up) หรือขยายภาพหรือสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เห็นทั่วถึงกันอย่างชัดเจน
  8. โทรทัศน์ดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี เด็กเรียนด้วยความพอใจและมีเจตคติที่ดีต่อโทรทัศน์
    (คณาจารย์ภาควิชาโสตทัศนศึกษา รามคำแหง 2532, 116;ไพโรจน์ ตีรณธากุล และนิพนธ์ ศุภศรี 2528, 3)
ดังนั้นเราจึงพอสรุปถึงจุดเด่นของวีดิทัศน์ที่ให้คุณค่าในด้านการศึกษาและการเรียนการสอนได้ดังนี้
  1. สามารถเป็นสื่อกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การทดลอง การสาธิต นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนเรียนได้เป็นจำนวนมาก
  2. สามารถนำเอาสิ่งที่อยู่ไกลตัวผู้เรียนมาสู่ผู้เรียนได้ง่าย เช่น เมื่อพูดถึงเหมืองแร่ ก็อาจจะไปถ่ายเหมืองแร่มาให้ชม แทนที่จะบรรยายด้วยปากเปล่าอย่างเดียว
  3. เทคนิคทางภาพพิเศษจะช่วยให้การผลิตบทเรียนวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  4. เทปวีดิทัศน์เป็นสื่อในการสร้างค่านิยม ทัศนคติได้เป็นอย่างดี เพราะภาพเสียงและการแสดงที่ออกมาย่อมเข้าถึงใจคนได้ง่ายกว่าเรื่องอย่างอื่น
    (วสันต์ อติศัพท์ 2533, 13-14) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น