วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management System:LMS)

Learning Management System (LMS)
LMS คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีเครื่องมือและส่วนประกอบที่สำคัญ สำหรับผู้สอน ผู้เรียนและผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบการจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบบริหารจัดการผู้เรียน ระบบส่วนการจัดการข้อมูลบทเรียน และระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์และจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, E-mail, Web-board, การเข้าใช้ การเก็บข้อมูล, และการรายงานผล เป็นต้น
องค์ประกอบหลักของระบบ LMS มี 4 ระบบ ที่สำคัญ คือ
1. ระบบจัดการรายวิชา Course Management System (CMS) การสร้างรายวิชา จัดทำเนื้อหาบทเรียนรายวิชาจัดทำแหล่งค้นคว้าข้อมูล ทำกิจกรรมเสริม
2. ระบบบริหารจัดการข้อมูลผู้เรียน User Management System ระบบการเข้าใช้งานตรวจสอบการใช้งานรายละเอียดข้อมูลผู้ใช้
3. ระบบตรวจกิจกรรมและติดตามประเมินผล Test &Tracking Management System กิจกรรมแบบฝึกแบบทดสอบ การบ้าน ระบบทดสอบประเมินผลการเรียน
4. ระบบจัดการการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ Communication Management System เป็นส่วนส่งเสริมการเรียนให้มีการติดต่อสื่อสารกัน ทั้งระหว่างผู้สอน-ผู้สอน ผู้สอน-นักเรียน นักเรียน-นักเรียน ทั้งรูปแบบ online และ offline web-board E-mail Chat News Calendar เป็นต้น
Moodle (Modular Object Oriented Dynamic Learning Environment)
Moodle เป็น Open Source Software เป็น Course Management System (CMS) โดยใช้ PHP
และ Database mySQL ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์ที่เคยใช้ WebCT เป็นชาวออสเตรเลีย Mr. Martin Dougiamas ปัจจุบันได้มี การพัฒนาเพื่อรองรับภาษาต่างๆ กว่า 40 ภาษา 150 ประเทศทั่วโลก มีผู้ใช้งานมากกว่า 20,000 ไซต์ (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.moodle.org) ระบบภาษาไทยพัฒนาโดยคุณ วิมลลักษณ์ สิงหนาท Moodle เป็นซอร์ฟแวร์สำหรับใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย (Web-based Instruction) โดยกำหนดให้มีระบบการจัดการบทเรียน ซึ่งรองรับกลุ่มผู้ใช้ 3 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน ซึ่งช่วยให้การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจาก software open source ได้แก่ php และmySQL ดังนั้นในการนำระบบไปใช้งานจึงไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากการลงทุนทางด้านฮาร์ดแวร์เท่านั้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เริ่มนำ  Moodle มาใช้เป็นเครื่องมือช่วเสริมการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี 2550 ที่  http://learn.pbru.ac.th เริ่มจากกลุ่มวิชาสาขาสังคมศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยี ปัจจุบันในระบบมีรายวิชาประมาณ  30 รายวิชา โดยระบบอยู่ในความดูและของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ
ผู้ดูแลเว็บไซต์ LMS.PBRU. ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว็บไซต์นี้จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเสริมกระบวนการเรียนการสอนของ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลผู้สนใจใฝ่หาความรู้ ทุกท่าน สำหรับคณาจารย์ก็หวังให้เป็นอีกทางเลือกในการนำเสนอสื่อการสอน แนวการสอน เอกสารประกอบการสอน และการจัดการสอบออนไลน์ เพื่อส่งสริมให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
ติดต่อผู้ผลิตสื่อ/การใช้งาน : nisanti@pbru.ac.th, bunjerd@pbru.ac.th ติดต่อผู้ดูแล/แจ้งปัญหา : chet@pbru.ac.th, attapap@pbru.ac.th
แหล่งอ้างอิง
Moodle org.  retrieved in 2012 July from http://www.moodle.org
Open source. retrieved in 2012 July from http://en.wikipedia.org/wiki/Open_Source
Open source. retrieved in 2012 July from http://en.wikipedia.org/wiki/Learning_Management_System

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น